โปรโมทชั่น กค

แนะนำร้านแอร์ ย่านลาดพร้าว บีบีแอร์

ร้านแอร์ ที่จำหน่ายแอร์ ราคาถูกที่สุด สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทีมช่างมืออาชีพ ติดตั้งเร็ว เก็บงานเรียบร้อยมาก

โดยท่านสามารถติดต่อพนักงานได้ ทุกช่องทาง โทรศัพท์ Line E-mail

ควบคุมงานโดยวิศวกร จุฬา วิศวกร ธรรมศาสตร์ เพราะเรารู้ว่า คุณต้องการอะไรจากการซื้อ แอร์
เพราะแอร์ แต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทางกายภาพ เช่น รูปแบบ รูปทรง สี ความหนา ระบบการทำงาน ความทนทาน ความดังเมื่อเดินเครื่อง ที่สำคัญ ความประทับใจและประสบการณ์ของคุณ ต่อยี่ห้อ เหล่านั้น เราจึงมีจัดจำหน่าย ทุกยี่ห้อแอร์ ทุกรุ่น ทุกขนาด ทุกยี่ห้อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องปรับอากาศมาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก มอก และได้รับเครื่องหมายแอร์ ประหยัดไฟ เบอร์ห้า ในราคาที่ถูกกว่าที่อื่น พร้อมทีมงานติดตั้งมืออาชีพ ตรงเวลา ทำงานเสร็จไว

โปรโมชั่น ปัจจุบัน เดือน กรกฎาคม 2557

BBair-promotion

ติดตั้งกล่องเก็บเสียง ป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียงดังได้อย่างดี

การติดตั้งต่อกล่องเก็บเสียง การติดต่อกล่องเก็บเสียงเข้ากับตัวเครื่องเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างง่ายๆ และไม่ยุ่งยากในการปฏิบัติแต่ก็อาจมีข้อเสียอยู่บ้างเกี่ยวกับการเข้าออกของลมที่ระบายความร้อน เพราะถ้าการระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควรก็จะทำให้ความดันของน้ำยาในระบบต้านความดันสูงสูงขึ้นด้วยดังนั้นการติดกล่องเก็บเสียงจึงต้องออกแบบให้ดี และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตด้วยการแก้ปัญหาโดยวิธีนี้เหมาะสมสำหรับอาคารสูงๆ เช่น อพาร์ตเมนต์ ดอนโดมิเนียม เนื่องจากการแก้ไขโดยวิธีอื่นปฏิบัติได้ยาก

ห่างจากด้านลมดูดเข้าระบายความร้อนประมาณ  30 เซนติเมตร

ห่างจากด้านลมส่งระบายความร้อนออกประมาณ  50  เซนติเมตร

2.  การสร้างกำแพงจะต้องให้กำแพงมีความสูงเท่าๆ กับแหล่งกำเนิดเสียง

3.  ความยาวของกำแพงจะต้องยาวกว่าความสูงหลายเท่า

4. วัสดุที่ใช้สร้างกำแพงจะต้องเป็นอิฐทึบ

โครงสร้างของกล่องเก็บเสียงสำหรับเครื่องปรับอากาศ แอร์ Panasonic  รูป (ก) เป็นการติดกล่องเก็บเสียงทั้งด้านลมเข้าและด้านลมออกของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง และรูป (ข) เป็นการติดกล่องเก็บเสียงทั้งด้านลมเข้าและด้านลมออกของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้านคอนเดนซิ่งยูนิตจะน้อยกว่าปกติ ความดันของน้ำยาในระบบทางด้านความดันสูงไม่สูงเท่าที่ควร ส่วนความดันด้านความดันต่ำสูงกว่าปกติมาก

การแก้ไข สามารถทำได้ดังนี้

1. ตรวจเช็คกำลังอัดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

2. ถอดเปลี่ยนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่

การแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องปรับอากาศสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 25.7

 

ตารางที่ 25.7 การแก้ไขข้อขัดข้องโดยทั่วไปของเครื่องปรับอากาศ

ข้อขัดข้องการตรวจสอบการแก้ไข
1. มอเตอร์พัดลมและมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า

 

2. ตรวจสอบระบบสายไฟที่จ่ายเข้าเครื่อง

1. ถ้าต่ำไป ให้แจ้งการไฟฟ้าฯ

 

2. ซ่อมระบบสายไฟ

 

ปัญหาแอร์และการแก้ไขทั่วไป

หลายบ้านมักเคยเจอปัญหาเหล่านี้ แล้วจะทำอย่างไรดี

เมื่อเราใช้งานเครื่องปรับอากาศไปสักระยะหนึ่ง ก็เกิดอาการต่างๆดังต่อไปนี้ ซึ่งบางอาการเป็นอาการทั่วไป ที่เราสามารถแก้ไขได้เองโดยวิธีง่ายง่าย ไขน๊อต ปรับเปลี่ยน โดยไม่ต้องเรียกช่างก็ได้ หรือ บางอาการก็อาจจะต้องเรียกช่างแต่เราก็สามารถสังเกตได้เบื้องต้น จะทำให้เราสามารถไม่โดนช่างหลอก หรือ เรียก่าใชจ่ายเแพงเกินจริง

ข้อขัดข้อง

การตรวจสอบ

การแก้ไข

1. มอเตอร์พัดลมและมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า2. ตรวจสอบระบบสายไฟที่จ่ายเข้าเครื่อง1. ถ้าต่ำไป ให้แจ้งการไฟฟ้า2. ซ่อมระบบสายไฟ

 

อาการ ขัดข้อง

การตรวจสอบ

การแก้ไข

2. มอเตอร์พัดลมไม่ทำงาน1. ใบพัดติดตั้งโครง2. ตรวจสอบบูซของพัดลม3. ตรวจสอบสวิตช์เลือก4. ตรวจสอบขดลวดมอเตอร์1. ปรับตั้งใหม่ยึดสกรูให้แน่น2. ซ่อมมอเตอร์เปลี่ยนบูซ3. เปลี่ยนสวิตช์เลือก

4. เปลี่ยนมอเตอร์พัดลม

3. มอเตอร์พัดลมทำงานแต่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า2. ตรวจสอบเทอร์โมสตัส3. ตรวจสอบสวิตช์เลือก4. ตรวจสอบคาพาซอเตอร์ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์5. ตรวจสอบขดลวดมอเตอร์คอมเพรสเซอร์1. ถ้าต่ำกว่า 100 % ให้แจ้งการไฟฟ้า2. เปลี่ยนเทอร์โมสตัดใหม่ ถ้าเสีย3. เปลี่ยนใหม่ถ้าสวิตช์เลือกไม่ทำงาน

4. ถ้าคาพาซิเตอร์เสียให้เปลี่ยนใหม่

5. เปลี่ยนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่

4. ระบบทำงาน แต่ไม่มีผลความเย็นเลย1. ตรวจสอบระบบน้ำยา1. ซ่อมระบบน้ำยา
5. ระบบทำงานแต่ให้ผลความเย็นน้อยลง1. เปิดพัดลมดูดอากาศไว้2. ฟิลเตอร์สกปรก3. อีวาพอเรเตอร์คอยล์และคอนเดนเซอร์สกปรก

4. ตรวจสอบอุณหภูมิของอีวาพอเรเตอร์คอยล์

1. ปิดพัดลมดูดอากาศ2. ล้างหรือเปลี่ยนฟิลเตอร์3. ยกล้างเครื่อง

4. ซ่อมระบบน้ำยาใหม่

 

6. ระบบทำงานดีแต่มีเสียงดัง1. ตรวจสอบการติดตั้ง2. ใบพัดกับตัวโครง3. ตรวจสอบสกรูทุกตัวและสปริงขาคอมเพรสเซอร์1. ติดตั้งใหม่ถ้าติดตั้งไว้ไม่ดี2. ปรับตั้งใหม่ยึดให้แน่น3. ถ้าหลวม ให้ขันสกรูยึดให้แน่น
7. น้ำหยดเข้าภายในห้องปรับอากาศ1. ตรวจสอบระดับการติดตั้งเครื่องใหม่2. ท่อน้ำทิ้งอุดตัน1. ปรับระดับใหม่ให้ดี2. ทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง

 

วิวัฒนาการของการทำความเย็นและปรับอากาศ

 วิวัฒนาการของการทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

ในสมัยโบราณมนุษย์รู้จักการเก็บรักษาและถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียเร็วโดยการนำอาหารไปแช่น้ำแข็งหรือหมกหิมะไว้ตามธรรมชาติ  วิธีการนี้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบที่มีอากาศหนาวเย็น  จนกระทั่งเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2343  ได้มีการตัดน้ำแข็งที่เกิดตามธรรมชาติในฤดูหนาวในแม่น้ำลำคลองไปเก็บไว้ในห้องที่มีฉนวนกันความร้อนบุโดยรอบเพื่อเอาไว้ใช้ในฤดูร้อน และมีการขนส่งน้ำแข็งก้อนโตๆ ที่ได้จากธรรมชาตินี้จากแถบที่มีอากาศหนาวไปใช้ในแถบที่อากาศร้อน  เมื่อประมาณ  70  ปีที่ผ่านมานี้ชาวต่างประเทศที่มาอยู่ในประเทศไทยและประเทศในเอเชียยังต้องสั่งน้ำแข็งก้อนมาทางเรือจากประเทศอังกฤษหรือยุโรปเพื่อนำมาแช่เบียร์ดื่ม  เพราะสมัยนั้นประเทศในเอเชียยังไม่รู้จักตู้เย็นหรืเครื่องทำความเย็น

น้ำแข็งได้ผลิตขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกในการทดลองเมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2363  แต่เป็นเพียงการทดลองเท่านั้น  จนกระทั่งปี  พ.ศ. 2377  จาคอบ เพอร์กินส์  (Jacob Perkins)  วิศวกรชาวอเมริกันจึงได้ ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นระบบคอมเพรสเซอร์อัดไอ (compression  system) ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกและต่อมาในปี  พ.ศ. 2398  นักวิทยาศาตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นระบบแอบซอร์ปชัน(absorption system) ขึ้นโดยอาศัยหลักทฤษฎีที่ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michale  Faraday) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ค้นพบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2367
ตู้เย็นที่ใช้ในบ้านถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2453  ทั้งที่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2363  ในปี  พ.ศ. 2456 เจ.เอ็ม.ลาร์เซน (J.M. Lasan) ได้ผลิตเครื่องทำความเย็นควบคุมด้วยมือขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2461 บริษัทเคลวิเนเตอร์ (Kelvinator  Company) ได้ผลิตตู้เย็นซึ่งควบคุมได้โดยอัตโนมัติขึ้นเป็นครั้งแรก  และผลิตออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในปีนั้นสามารถจำหน่ายได้ประมาณ  67 ตู้ แต่ในระยะต่อมายอดการผลิตลดต่ำลงและในปี พ.ศ. 2463 มีการจำหน่ายไปแล้วเพียง 200 ตู้เท่านั้น
ราวต้นปี พ.ศ. 2463  อุตสาหกรรมการผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านเริ่มมีความสำคัญขึ้น  และเป็นที่นิยมแพร่หลายในอเมริกาและยุโรป  ต่อมาปี พ.ศ. 2469  บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก  (General  Electric) ได้เริ่มผลิตตู้เย็นออกมาจำหน่าย  หลังจากที่ทำการค้นคว้าทดลองกันกว่าสิบปี  จึงได้ผลิตตู้เย็นที่ใช้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกขึ้นเป็นตู้แรก  และในปี พ.ศ. 2470  บริษัทอิเล็กโทรลักซ์ (Electrolux) ได้ผลิตตู้เย็นระบบแอบซอร์ปชันควบคุมโดยอัตโนมัติขึ้นจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
ในอุตสาหกรรมการเก็บรักษาและถนอมอาหารสมัยใหม่  ได้ใช้วิธีการแช่ฟรีซอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเครื่องทำความเย็นในระบบฟรีซอย่างรวดเร็ว  จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2466 สำหรับเครื่องปรับอากาศเครื่องแรกผลิตออกสู่ท้องตลาดในปี พ.ศ. 2470  และเครื่องปรับอากาศรถยนต์ถูกผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2483  แต่ในระยะนั้นยังไม่มีการเก็บสถิติที่แน่นอนของจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบนี้  แต่ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ  ประมาณได้ว่ามีรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นเพื่อปรับอากาศอยู่ประมาณ  3,000-4,000 คัน

ระยะของท่อน้ำยาแอร์

การเดินท่อน้ำยาแอร์ ยาวยาวๆ มีผลเสียหรือไม่

เครื่องปรับอากาศทุกชนิด เช่น แอร์ Panasonic , แอร์ Mitsubishi, แอร์ LG, แอร์ Samsung  มีหลักการในการเดินท่อน้ำยาแอร์ที่ ยาวเกินไปส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นตัวอัดแรงดันน้ำยาแอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น ต้องเพิ่มแรงดันมากขึ้น รวมไปถึงการสูญเสียพลังงานแรงต้านทานภายในท่อขณะเดินทางที่มากขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะทำให้การเปิดแอร์แต่ละครั้งกินไฟมากขึ้นกว่าปกติและแอร์ก็ไม่เย็นเท่าที่ควจะเป็น ถ้ามีการติดตั้งท่อน้ำยาแอร์ที่ยาวยาว ในที่สุดคอมเพรสเซอร์ก็เสื่อมสภาพเร็วจากการทำงานหนักนี้ อาจจะตอบไม่ได้ชัดเจนนักสำหรับระบยะเวลาที่จะพัง เพราะแอร์แต่ละรุ่น แต่ละนี่ห้อ ต่างขนาด ต่าง BTU ต้องการระยะท่อน้ำยาแอร์ที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และเทคโนโลยี่ที่นำมาใช้ในการผลิตแอร์แต่ละรุ่น แต่เราสามารถตรวจสอบระยะห่างที่เหมาะสมของท่อน้ำยาแอร์ได้ในแต่ละรุ่นของคู่มือการติดตั้งที่ให้มาตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อแอร์ โดยจะมีการระบุไว้อย่างละเอียด รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศอย่างน่าสนใจ เช่น การเลือกตำหแน่งในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม การเว้นระยะห่างโดยรอบคอมเพรสเซอร์เพื่อช่วยในการระบายอากาศ และทำให้อายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์มากขึ้น

โดยทั่วไปแล้วเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก เช่น  แอร์ Panasonic, แอร์ Mitsubishi, แอร์ LG, หรือ แอร์ Samsung  แบบติดผนังที่นิยมใช้กันภายในบ้านซึ่งมี BTU ระหว่าง 9000-12,000 นั้นจะมีระยะการเดินท่อน้ำยาแอร์แฉลี่ยไมระหว่าง 10-15 เมตรสำหรับการเดินทางในแนวนอนและไม่เกิน 5 เมตรสำหรับการเดินท่อน้ำยาแอร์ในการเดินแนวตั้ง โดยมีการจำกัดว่า อย่างน้อยที่สุดควรมีระยะของท่อน้ำยาแอร์ไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพราะน้ำยาแอร์อาจจะหมุนเวียนได้ไม่ดีหากมีระยะน้อยเกินไป สิ่งสำคัญคือท่อน้ำยาแอร์ที่ต่อให้ยาวขึ้นจำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นหากน้ำยาแอร์ที่มีราคาแพง เช่น น้ำยาแอร์ 410 การติดตั้งก็จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายตามมา