แอร์ invertor คือ อะไร

ทำความรู้จักกับเครื่องปรับอากาศระบบ Invertor กันเถอะ

ในปัจจุบันสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าว และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกๆปี ทำให้ผู้อยู่อาศัย หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องทำงาน ต่างมองหาเครื่องปรับอากาศที่ช่วยให้อุณหภูมิห้องนั้นมีความเย็น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการผ่อนคลายยามเมื่ออาศัยอยู่ที่บ้าน ดังนั้นเพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศได้เหมาะกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับเครื่องปรับอากาศระบบ invertor ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการซื้อเครื่องปรับอากาศระบบ invertor หรือระบบอื่นๆกันครับ

เครื่องปรับอากาศระบบ invertor แอร์ Misubishi คืออะไร

เครื่องปรับอากาศระบบ invertor คือเครื่องปรับอากาศที่ระบบคอมเพรสเซอร์จะทำงานที่ 50Hz ทันทีเมื่อทำงานการเปิดเครื่อง และตัวระบบ invertor จะคอบควบคุมความถี่ในการทำงานของระบบไฟฟ้าให้เหมาะสมต่อการตั้งอุณหภูมิภายในห้อง ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานช้าลง ดูดน้ำยาเครื่องปรับอากาศน้อยลง จึงมีความประหยัดมากขึ้นในเรื่องของการใช้งาน

เครื่องปรับอากาศระบบ invertor ทำงานอย่างไร

โดยปกติเราจะทำงานเกิดอุณหภูมิที่ 25 องศา เมื่อเราเปิดที่ระดับนี้ เครื่องปรับอากาศระบบ invertor ก็จะทำงานเต็มที่ จนได้ระดับของอุณหภูมิห้องดังกล่าว จากนั้นระบบจะปรับการทำงานให้ลดลงเหลือเพียงแค่ 30-70% จากนั้นระบบ invertor จะทำการเพียงแค่รักษาระดับอุณหภูมิให้เย็นเท่ากับระบบที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น
ในท้องตลาดปัจจุบัน มีหลายยี่ห้อ ที่ผลิตแบบ invertor ออกมาแล้ว คือ แอร์ Mitsubishi ราคาถูก , แอร์ Samsung, แอร์ Daikin ติดตั้งเร็ว แอร์ LG เป็นต้น

ข้อดีของเครื่องปรับอากาศระบบ invertor มีอะไรบ้าง แอร์ Misubishi

1.ช่วยประหยัดไฟ

เนื่องจากระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศระบบ invertor จะไปลดรอบความถี่การทำงานของเครื่องคอมเพรสเซอร์ จึงทำให้ระบบช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 20-30% เลยทีเดียว

2.เย็นเร็วมากขึ้น

เนื่องจากในขณะที่เราเปิดเครื่องตอนแรกระบบเครื่องปรับอากาศจะทำงานทันทีด้วยค่า% สูงสุดที่ระดับ 100 ก่อนที่จะมีการลดระดับลง ดังนั้นจึงทำให้ห้องนั้นมีอากาศที่เย็นลงอย่างรวดเร็ว และไม่ต้องรอระยะเวลานานๆกว่าอากาศจะเย็นเหมือนระบบอื่นๆ

3.รักษาอุณหภูมิห้องได้ดี แอร์ Mitsubishi

ด้วยเครื่องปรับอากาศระบบ invertor มีจุดเด่นในด้านการควบคุมระดับการทำงานของเครื่องคอมเพรสเซอร์นั่นเอง จึงทำให้เมื่ออุณหภูมินั้นได้ระดับแล้ว ระบบจะทำการรักษาตัวความเย็นของห้องให้คงที่ตลอดเวลา จึงทำให้อุณหภูมิของห้องคงที่นั่นเอง

4.อากาศดีกว่า

เนื่องจากเครื่องปรับอากาศระบบ invertor มีการทำงานอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่ลด การทำงานลงเท่านั้นเมื่อความเย็นของห้องได้ระดับ จึงไม่ได้ดูดเอาอากาศชื้นๆอับเข้ามาในห้องแต่ประการใด จึงทำให้อากาศภายในนั้นสดชื่นตลอดการเปิดเครื่อง

5.รักสิ่งแวดล้อม

ด้วยตัวน้ำยาในระบบเครื่องปรับอากาศระบบ invertor เป็นชุดน้ำยาที่แตกต่างจากเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา และเมื่อใช้งานไปแล้วจะไม่ทำลายโอโซนด้วย จึงถือว่าระบบนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
เป็นอย่างไรบ้างครับกับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศระบบ invertor ที่จะช่วยให้คุณ สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศระบบ invertor กันนะครับ โดยปัจจุบัน ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำ ส่วนมาก จะมีรุ่นที่เป็น invertor มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแนวโน้มการพัมนาผลิตภัณฑ์ที่ดี ต่อสังคม ต่อผู้บริโภค นั้นเอง แอร์ Daikin

แอร์_Mitsubishi แอร์ Samsung

โปรโมทชั่น กค

แนะนำร้านแอร์ ย่านลาดพร้าว บีบีแอร์

ร้านแอร์ ที่จำหน่ายแอร์ ราคาถูกที่สุด สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทีมช่างมืออาชีพ ติดตั้งเร็ว เก็บงานเรียบร้อยมาก

โดยท่านสามารถติดต่อพนักงานได้ ทุกช่องทาง โทรศัพท์ Line E-mail

ควบคุมงานโดยวิศวกร จุฬา วิศวกร ธรรมศาสตร์ เพราะเรารู้ว่า คุณต้องการอะไรจากการซื้อ แอร์
เพราะแอร์ แต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทางกายภาพ เช่น รูปแบบ รูปทรง สี ความหนา ระบบการทำงาน ความทนทาน ความดังเมื่อเดินเครื่อง ที่สำคัญ ความประทับใจและประสบการณ์ของคุณ ต่อยี่ห้อ เหล่านั้น เราจึงมีจัดจำหน่าย ทุกยี่ห้อแอร์ ทุกรุ่น ทุกขนาด ทุกยี่ห้อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องปรับอากาศมาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก มอก และได้รับเครื่องหมายแอร์ ประหยัดไฟ เบอร์ห้า ในราคาที่ถูกกว่าที่อื่น พร้อมทีมงานติดตั้งมืออาชีพ ตรงเวลา ทำงานเสร็จไว

โปรโมชั่น ปัจจุบัน เดือน กรกฎาคม 2557

BBair-promotion

ติดตั้งกล่องเก็บเสียง ป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียงดังได้อย่างดี

การติดตั้งต่อกล่องเก็บเสียง การติดต่อกล่องเก็บเสียงเข้ากับตัวเครื่องเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างง่ายๆ และไม่ยุ่งยากในการปฏิบัติแต่ก็อาจมีข้อเสียอยู่บ้างเกี่ยวกับการเข้าออกของลมที่ระบายความร้อน เพราะถ้าการระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควรก็จะทำให้ความดันของน้ำยาในระบบต้านความดันสูงสูงขึ้นด้วยดังนั้นการติดกล่องเก็บเสียงจึงต้องออกแบบให้ดี และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตด้วยการแก้ปัญหาโดยวิธีนี้เหมาะสมสำหรับอาคารสูงๆ เช่น อพาร์ตเมนต์ ดอนโดมิเนียม เนื่องจากการแก้ไขโดยวิธีอื่นปฏิบัติได้ยาก

ห่างจากด้านลมดูดเข้าระบายความร้อนประมาณ  30 เซนติเมตร

ห่างจากด้านลมส่งระบายความร้อนออกประมาณ  50  เซนติเมตร

2.  การสร้างกำแพงจะต้องให้กำแพงมีความสูงเท่าๆ กับแหล่งกำเนิดเสียง

3.  ความยาวของกำแพงจะต้องยาวกว่าความสูงหลายเท่า

4. วัสดุที่ใช้สร้างกำแพงจะต้องเป็นอิฐทึบ

โครงสร้างของกล่องเก็บเสียงสำหรับเครื่องปรับอากาศ แอร์ Panasonic  รูป (ก) เป็นการติดกล่องเก็บเสียงทั้งด้านลมเข้าและด้านลมออกของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง และรูป (ข) เป็นการติดกล่องเก็บเสียงทั้งด้านลมเข้าและด้านลมออกของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้านคอนเดนซิ่งยูนิตจะน้อยกว่าปกติ ความดันของน้ำยาในระบบทางด้านความดันสูงไม่สูงเท่าที่ควร ส่วนความดันด้านความดันต่ำสูงกว่าปกติมาก

การแก้ไข สามารถทำได้ดังนี้

1. ตรวจเช็คกำลังอัดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

2. ถอดเปลี่ยนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่

การแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องปรับอากาศสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 25.7

 

ตารางที่ 25.7 การแก้ไขข้อขัดข้องโดยทั่วไปของเครื่องปรับอากาศ

ข้อขัดข้องการตรวจสอบการแก้ไข
1. มอเตอร์พัดลมและมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า

 

2. ตรวจสอบระบบสายไฟที่จ่ายเข้าเครื่อง

1. ถ้าต่ำไป ให้แจ้งการไฟฟ้าฯ

 

2. ซ่อมระบบสายไฟ

 

ปัญหาแอร์และการแก้ไขทั่วไป

หลายบ้านมักเคยเจอปัญหาเหล่านี้ แล้วจะทำอย่างไรดี

เมื่อเราใช้งานเครื่องปรับอากาศไปสักระยะหนึ่ง ก็เกิดอาการต่างๆดังต่อไปนี้ ซึ่งบางอาการเป็นอาการทั่วไป ที่เราสามารถแก้ไขได้เองโดยวิธีง่ายง่าย ไขน๊อต ปรับเปลี่ยน โดยไม่ต้องเรียกช่างก็ได้ หรือ บางอาการก็อาจจะต้องเรียกช่างแต่เราก็สามารถสังเกตได้เบื้องต้น จะทำให้เราสามารถไม่โดนช่างหลอก หรือ เรียก่าใชจ่ายเแพงเกินจริง

ข้อขัดข้อง

การตรวจสอบ

การแก้ไข

1. มอเตอร์พัดลมและมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า2. ตรวจสอบระบบสายไฟที่จ่ายเข้าเครื่อง1. ถ้าต่ำไป ให้แจ้งการไฟฟ้า2. ซ่อมระบบสายไฟ

 

อาการ ขัดข้อง

การตรวจสอบ

การแก้ไข

2. มอเตอร์พัดลมไม่ทำงาน1. ใบพัดติดตั้งโครง2. ตรวจสอบบูซของพัดลม3. ตรวจสอบสวิตช์เลือก4. ตรวจสอบขดลวดมอเตอร์1. ปรับตั้งใหม่ยึดสกรูให้แน่น2. ซ่อมมอเตอร์เปลี่ยนบูซ3. เปลี่ยนสวิตช์เลือก

4. เปลี่ยนมอเตอร์พัดลม

3. มอเตอร์พัดลมทำงานแต่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า2. ตรวจสอบเทอร์โมสตัส3. ตรวจสอบสวิตช์เลือก4. ตรวจสอบคาพาซอเตอร์ของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์5. ตรวจสอบขดลวดมอเตอร์คอมเพรสเซอร์1. ถ้าต่ำกว่า 100 % ให้แจ้งการไฟฟ้า2. เปลี่ยนเทอร์โมสตัดใหม่ ถ้าเสีย3. เปลี่ยนใหม่ถ้าสวิตช์เลือกไม่ทำงาน

4. ถ้าคาพาซิเตอร์เสียให้เปลี่ยนใหม่

5. เปลี่ยนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่

4. ระบบทำงาน แต่ไม่มีผลความเย็นเลย1. ตรวจสอบระบบน้ำยา1. ซ่อมระบบน้ำยา
5. ระบบทำงานแต่ให้ผลความเย็นน้อยลง1. เปิดพัดลมดูดอากาศไว้2. ฟิลเตอร์สกปรก3. อีวาพอเรเตอร์คอยล์และคอนเดนเซอร์สกปรก

4. ตรวจสอบอุณหภูมิของอีวาพอเรเตอร์คอยล์

1. ปิดพัดลมดูดอากาศ2. ล้างหรือเปลี่ยนฟิลเตอร์3. ยกล้างเครื่อง

4. ซ่อมระบบน้ำยาใหม่

 

6. ระบบทำงานดีแต่มีเสียงดัง1. ตรวจสอบการติดตั้ง2. ใบพัดกับตัวโครง3. ตรวจสอบสกรูทุกตัวและสปริงขาคอมเพรสเซอร์1. ติดตั้งใหม่ถ้าติดตั้งไว้ไม่ดี2. ปรับตั้งใหม่ยึดให้แน่น3. ถ้าหลวม ให้ขันสกรูยึดให้แน่น
7. น้ำหยดเข้าภายในห้องปรับอากาศ1. ตรวจสอบระดับการติดตั้งเครื่องใหม่2. ท่อน้ำทิ้งอุดตัน1. ปรับระดับใหม่ให้ดี2. ทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง

 

ระบบอินเวอร์เตอร์

เครื่องปรับอากาศและระบบอินเวอร์เตอร์ ประหยัดไฟฟ้าได้อย่างไร 

เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ เช่น แอร์ Mitsubishi, แอร์ Panasonic  ในปัจจุบันได้นำเอาระบบอินเวอร์เตอร์ (inverter)  มาใช้เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและลดค่าไฟฟ้าลง  โดยนำเอาความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ  ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูงที่สุด  ควบคุมการทำความเย็นโดยปรับอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่มากที่สุด  ตลอดจนควบคุมความชื้นสัมพันธ์ของอากาศภายในห้อง  ให้อยู่ในค่าที่ร่างกายกำลังสบาย

ระบบอินเวอร์เตอร์จะมีไมโครคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุณหภูมิภายในและภายนอก  แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะต้องทำความเย็นหรือกำจัดความชื้นให้แก่อากาศภายในห้อง  ส่วนการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องจะทำโดยการเปลี่ยนค่าความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์  จะทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลดลง  ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาในระบบน้อยลง  การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงด้วย

ขณะที่ระบบเริ่มทำความเย็น  เครื่องปรับอากาศจะทำงานเต็มที่ (full power) ด้วยการทำงานที่ความถี่ 90 เฮิรตซ์  ซึ่งจะทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์สูงถึง  5,400  รอบ/นาที  ระบบให้ผลความเย็น 3,150  กิโลแคลอรี/ชั่วโมง  (11,340 บีทียู/ชั่วโมง)  ทำให้อากาศภายในห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว  และเมื่ออุณหภูมิของห้องลดลงใกล้กับระดับอุณหภูมิที่ปรับตั้งไว้  ความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะลดลงเรื่อยๆ  อันเป็นการทำงานอยู่ที่ระดับกำลังต่ำ  ซึ่งจะให้ความถี่ไฟฟ้าแค่  30 เฮิรตซ์  กินไฟเพียง  425  วัตต์ ทำให้เกิดการประหยัดไฟฟ้า และนำยาแอร์ที่ใช้ก็จะเป็นแบบ น้ำยาแอร์ 410 ซึ่งไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การควบคุมอุณหภูมิโดยวิธีนี้  นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว  อุณหภูมิของอากาศภายในห้องก็เกือบจะคงที่ตามที่ปรับตั้งไว้  เพราะมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลง  ซึ่งต่างจากระบบที่ใช้เทอร์โมสตัตเป็นตัวควบคุมหยุดการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์  เมื่ออุณหภูมิของอากาศภายในห้องลดต่ำลงถึงเกณฑ์ปรับตั้งไว้ และมีช่วงอุณหภูมิพักเครื่องซึ่งจะมีค่าอุณหภูมิแตกต่างกันอยู่บ้างระหว่างจุดที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงานและจุดที่เริ่มการทำงาน

หลักการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์   ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเป็น AC 220โวลต์ 50/50  เฮิรตซ์  จะถูกแปลงให้เป็นไฟ DC  280 โวลต์  เพื่อป้อนเข้าเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เป็นตัวผลิตไฟ AC  3 เฟส  มีความถี่อยู่ในช่วง  30-90 เฮิรตซ์  โดยไมโครคอมพิวเตอร์เป็นผู้ส่งสัญญาณที่ป้อนเข้าไมโครคอมพิวเตอร์ตัวภายในห้องจะรับจากการปรับตั้งโปรแกรมรีโมตคอนโทรลผ่านเข้าทางภาครับสัญญาณของไมโครคอมพิวเตอร์ตัวในส่วนหนึ่ง  และสัญญาณอีกส่วนหนึ่งรับจากตัวส่งสัญญาณเทอร์มิสเตอร์ (thermister sensor)  ซึ่งเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของอากาศภายในห้อง  ไมโครคอมพิวเตอร์ตัวในจะสั่งการต่อไปยังไมโครคอมพิวเตอร์ตัวนอก  ให้ควบคุมการผลิตไฟ AC  3 เฟสของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์  ที่ความถี่ต่างๆ กัน  เพื่อใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์อีกทีหนึ่งแอร์ invertor

เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนัง ชิ้นเดียว

เครื่องปรับอากาศ รุ่นแรกที่มีการใช้งาน มาจากไหน

                เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านพักอาศัยและสำนักงานขนาดเล็กเท่านั้น ส่วนเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่จะกล่าวถึงเพียงพอเป็นแนวทางเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้าน ถ้าจะแบ่งตามลักษณะโครงสร้างและการติดตั้งแล้วแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (window type) เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน  (split type) คือ แอร์ Misubishi, แอร์ LG, แอร์ Saijo Denki, แอร์ Panasonic นั่นเอง

เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง แอร์ eminent

                เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างเป็นเครื่องที่เคยนิยมใช้กันมากตามบ้านพักอาศัย ในปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่เพราะง่ายต่อการติดตั้งและซ่อมบำรุง ภายในตัวเครื่องประกอบด้วยวงจรการทำความเย็นและวงจรการหมุนเวียนอากาศสมบูรณ์ในตัว โดยมีผนังกั้นระหว่างส่วนที่หมุนเวียนของอากาศภายในห้องทางด้านคอยล์เย็นหรืออีวาพอเรเตอร์ และส่วนที่ระบายความร้อนออกภายนอกห้องทางด้านคอยล์เตนเซอร์ขนาดของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างนี้มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 6,000 บีทียู/ชั่วโมง (1,666 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง) ขึ้นไป จนถึงขนาด  36,000 บีทียู/ชั่วโมง (10,000 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง)

แอร์ติดผนัง

รูปที่ 20.1 เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง

Air_20_3วงจรการหมุนเวียนของอากาศ  จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามรูปที่ 20.2 คือทางด้านอากาศภายนอกห้องและทางด้านอากาศภายในห้อง โดยมีมอเตอร์ชนิดแกนพลายื่นออก 2 ด้านหัวท้าย เป็นตัวขับเคลื่อนใบพัดให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ

 

 

รูปที่ 20.2 ไดอะแกรมของวงจรการหมุนเวียนของอากาศ

ด้านระบายความร้อนออกของคอนเดนเซอร์จะติดใบพัดชนิดธรรมดา (propeller fan) และด้านส่งลมเย็นหมุนเวียนภายในห้องผ่านคอยล์เย็นหรืออีวาพอเรเตอร์จะติดใบพัดแบบกรงกระรอก (multi-stand type fan) หรือบางที่เรียกเป็นใบพัดแบบเซอรอกโค (sirocco fan)

โครงสร้างภายในของเครื่องแอร์ LG จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักที่สำคัญ (ดูรูปที่ 20.3 ประกอบ) ดังนี้

โครงสร้างภายในของเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง

1. มอเตอร์คอมเพรสเซอร์

3. ชุดควบคุมการไหลของน้ำยา2. คอนเดนเซอร์

4. คอยล์เย็นหรืออีวาพอเรเตอร์

6. ใบพัดแบบธรรมดา5. มอเตอร์พัดลม

7. ใบพัดแบบกรงกระรอก

 

 

 ใบพัดแบบกรงกระรอกหรือแบบเซอรอกโคสามารถให้ความดันลมสูง ดันอากาศให้ผ่านออกได้ดีเหมาะสำหรับระบบที่ต้องการปริมาณลมส่งมาก แต่จะมีข้อเสียคือเสียงดัง ใช้เป็นใบพัดดูดเป่าลมผ่านคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศชนิดหน้าต่าง

ใบพัดแบบธรรมดาเป็นใบพัดที่มีขนาดเล็ก ออกแบบสร้างอย่างง่ายๆ แต่ก็ให้ลมมากใช้ในการระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง

นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว ทางด้านหน้าของเครื่องยังมีหน้ากากซึ่งทำจากพลาสติก เป็นฝาครอบให้เกิดความสวยงาม และส่วนของทางลมกลับก่อนผ่านเข้าคอยล์เย็นหรืออีวาพอเรเตอร์จะมีฟิลเตอร์สำหรับกรองฝุ่นละอองของอากาศภายในห้อง ไม่ให้เข้าไปอุดตันในครีบของคอยล์เย็น ดังรูปที่ 20.5

ฟิลเตอร์กรองอากาศจะทำจากวัสดุสังเคราะห์ประเภทฟองน้ำ เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งประมาณ1-2 เดือน ควรจะถอดเอาฟิลเตอร์ออกมาล้างฝุ่นละอองที่อุดตันอยู่ออก เพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศดีอยู่ตลอดเวลา

 

อุปกรณ์หลักทางวงจรน้ำยา ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ แสดงดังรูปที่ 20.6

วงจรน้ำยาแอร์

รูปที่ 20.6 โครงสร้างอุปกรณ์หลักของวงจรน้ำยา

          รายละเอียดของอุปกรณ์หลักทางวงจรน้ำยาแอร์ มีดังนี้

1. มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญของระบบวงจรน้ำยาเครื่องทำความเย็นทำหน้าที่ในการดูดและอัดน้ำยาในสถานะแก๊ส โดยดูดแก๊สที่มีอุณหภูมิและความดันต่ำ จากคอยล์เย็น และอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงส่งเช้าไปกลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลวด้วยการระบายความร้อนออกที่คอนเดนเซอร์

มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศติดหน้าต่างเป็นแบบเฮอร์เมติก ซึ่งมีส่วนของมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์อยู่ภายในตัวเรือนเดียวกันที่เชื่อมปิดมิดชิด ส่วนของคอมเพรสเซอร์นั้นมี 2 แบบคือ แบบลูกสูบและแบบโรตารี ซึ่งในจำนวนขนาดบีทียู  (แคลอรี) ที่เท่ากันแล้ว คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะกินกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ

                2. คอนเดนเซอร์ คืออุปกรณ์ทำทำหน้าที่ให้นำยาในสถานะเป็นแก๊สกลั่นตัวเป็นของเหลวด้วยการระบายความร้อนออกจากน้ำยานั้น น้ำยาในสถานะแก๊สที่มีอุณหภูมิความดันสูงซึ่งถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อถูกระบายความร้อนออกจะกลั่นตัวเป็นของเหลว แต่ยังคงความดันและมีอุณหภูมิสูงอยู่

โครงสร้างของคอนเดนเซอร์ประกอบขดท่อทองแดงหรืออลุมิเนียม และมีครีบเป็นตัวช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อนด้วยอากาศซึ่งถูกเป่าผ่านด้วยมอเตอร์พัดลม

ท่อทางน้ำยาที่เข้ายังคอนเดนเซอร์จะต้องอยู่ข้างบนเสมอ เพื่อว่าน้ำยากลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลวแล้วจะตกลงมาตอนล่าง และส่งต่อเข้ายังท่อลิควิด ซึ่งถ้าต่อท่อคอนเดนเซอร์เข้าทางด้านล่างแล้ว น้ำยาในสถานะแก๊สจะต้องดันผ่านน้ำยาเหลว ทำให้ความดันในคอนเดนเซอร์สูงเกินเกณฑ์

3. ชุดควบคุมการไหลของน้ำยา สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง ชุดควบคุมการไหลของน้ำยาจะมีใช้กันมาก 2 แบบ คือ แบบท่อแคพิลลารี และ แบบเทอร์โมสแตติกเอกช์แพนขันวาล์ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนที่คิดเป็นโหลดมีไม่มากนัก เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างจึงใช้ท่อแคพิลลารีกันมากกว่า ซึ่งท่อแคพิลลารีนี้จะเป็นท่อขนาดเล็กๆ การเลือกขนาดและความยาวของท่อนแคพิลลารีจะต้องให้พอเหมาะกับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ระบุไว้

ส่วนเทอร์โมสแตติกเอกช์แพนชันวาล์วมีหลักการในการปรับควบคุมอัตราการไหลของน้ำยาได้ดีกว่า แต่ก็มีราคาสูง และการเลือกใช้เทอร์โมสแตติกเอกช์แพนชันวาล์วก็จะต้องเลือกขนาดให้พอเหมาะกับขนาดของเครื่องปรับอากาศ

4. คอยล์เย็นหรือคอยล์อีวาพอเรเตอร์ คือ อุปกรณ์ของระบบทำความเย็นที่ทำหน้าที่ดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศภายในห้อง ขณะที่น้ำยา R-22 ภายในระบบตรงบริเวณนี้ระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สจะดูดรับปริมาณความร้อนผ่านผิวท่อทางเดินน้ำยาเข้าไปยังน้ำยาภายในระบบ ทำให้อุณหภูมิโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ต่ำลง

สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง โครงสร้างคอยล์เย็นจะเหมือนกับโครงสร้างของคอนเดนเซอร์คือประกอบด้วยขดท่อทองแดงมีครีบเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า (ในเครื่องเดียวกัน)

5. ท่อลิควิด น้ำยาเหลวที่กลั่นตัวเรียบร้อยแล้ว จากคอนเดนเซอร์จะถูกส่งผ่านท่อลิควิดเข้ายังเอกช์แพนชันวาลืวหรือท่อแคพิลลารี

6. ท่อซักชั่น เป็นท่อทางเดินน้ำยาที่ต่ออยู่ระหว่างคอยล์เย็นกับทางดูดของคอมเพรสเซอรื น้ำยาในสถานะแก๊สอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำจากคอยล์เย็นจะถูกดูดผ่านท่อวักชั่น เข้ายังคอมเพรสเซอร์

7. ท่อดิสชาร์จ เป็นท่อทางเดินน้ำยาที่ต่ออยู่ระหว่างท่อทางอัดของคอมเพรสเซอร์กับคอนเดนเซอร์น้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สซึ่งถูกคอมเพรสเซอร์อัดให้มีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น จะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์โดยผ่านท่อดิสชาร์จนี้

8. ตะแกรงกรองหรือสเตรนเนอร์ เป็นตะแกรงกรองทำด้วยลวดทองเหลืองเส้นเล็กๆ สานเป็นตะแกรง เพื่อทำหน้าที่ป้องกันมิให้ฝุ่นผงผ่านเข้าไปอุดตันในท่อแคพิลลารีหรือเอกช์แพนชันวาล์ว

 

รูปที่ 20.10 ตะแกรงกรอง

 

อุปกรณ์หลักทางวงจรไฟฟ้า ปรกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 20.11

 

สำหรบเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง อุปกรณ์หลักที่สำคัญทางวงจรไฟฟ้าประกอบด้วย

1. สวิตช์เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันมากมี 2 แบบคือ แบบปุ่มกด ดังรูปที่ 20.13 (ก) และแบบหมุนดังรูปที่ 20.13 (ข) เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ตัวสวิตช์จะทไหน้าที่ปิด-เปิด เครื่องควบคุมความเร็วของมอเตอร์พัดลม ซึ่งอาจเป็นแบบ 2 หรือ 3 สปีด (speed) ก็ได้ และควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ซึ่งวงจรส่วนที่ควบคุมมอเตอร์คอมเพรสเซอร์นี้ จะทำงานได้เมื่อวงจรมอเตอร์พดลมได้ทำงานแล้วเท่านั้น

2. โอเวอร์โหลด เป็นอุปกรณ์ป้องกันซึ่งจะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าที่เข้าเลี้ยงมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เมื่อเกิดความร้อนอันเนื่องมาจากมอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสสูงผิดปกติ

มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศบางรุ่น ขนาดตั้งแต่ 2-3 แรงม้า ออกแบบมาใช้ให้มีโอเวอร์โหลดภายใน (internal overload) ซึ่งจะคอยป้องกันไม่ให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เกิดความเสียหายอีกชั้นหนึ่ง

3. รีเลย์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานสมพันธ์กับอุปกรณ์ช่วยสตาร์ตของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ รีเลย์ที่ใช้สำหรับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ของความร้อนนั้นจะใช้ชนิดโพเทนเซียลรีเลย์ ซึ่งจะใช้ควบคู่กับคาพาซิเตอร์สตาร์ตและคาพาซิเตอร์รัน

4. เทอร์โมสตัด เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ในขณะที่อุณหภูมิภายในห้องยังสูงอยุ่ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัดต่ออยู่ ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานดูดอัดน้ำยา R-22 ให้เกิดผลความเย็นที่อีวาพอเรเตอร์ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องปรับอากาสลดต่ำ (เย็น) ถึงเกณฑ์ตามที่ต้องการ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัดจะแยกจาก ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จนกระทั่งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้นอีก หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัดจะต่ออีกครั้งหนึ่ง และมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานใหม่ ซึ่งเป็นการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยอัตโนมัติ

เทอร์โมสตัดของเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างจะเป็นชนิดกระเปาะ ซึ่งปลายกระเปาะจะต้องทาบดักอยู่ที่ทางลมกลับ ด้านหน้าของเครื่อง แต่อยู่ข้างในหน้ากากอีกที่หนึ่ง

5. มอเตอร์พัดลม มอเตอร์พัดลมของเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่างจะเป็นมอเตอร์ชนิดอินดักชั่นมอเตอร์แบบ 2 แกน ยื่นออกทั้ง 2 ด้าน ดังรูปที่ 20.17 ด้านหนึ่งไว้ใส่ใบพัดแบบธรรมดาสำหรับระบายความร้อนออกให้กับคอนเดนเซอร์ และอีกด้านหนึ่งไว้ใส่ใบพัดแบบกรงกระรอก เป่าให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็น

โครงสร้างของมอเตอร์พัดลมนี้ จะประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า สเตเตอร์ ซึ่งมีขดลวดพันอยู่ และส่วนที่เรียกว่าโรเตอร์ซึ่งจะเป็นส่วนที่หมุนอยู่ภายในสเตเตอร์ มีฝาครอบหัวท้ายมอเตอร์ มอเตอร์นี้จะมี 2 หรือ 3 สปีดแล้วแต่บริษัทผู้ผลิต

6. คาพาซิเตอร์ ส่วนมากคาพาซิเตอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างจะมี 2 ชนิด คือ คาพาซิเตอร์สตาร์ตและคาพาซิเตอร์รัน คาพาซิเตอร์สตาร์ตจะเป็นตัวที่มีขนาดเล็กกว่า แต่มีค่าไมโครฟารัดมากกว่า และทำหน้าที่ช่วยในการออกตัวของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

สำหรับคาพาซิเตอร์รัน จะมีค่าไมโครฟารัดน้อยกว่า ซึ่งจะมีหน้าที่ช่วยแก้ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์เพื่อให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสน้อยลง

มอเตอร์คอมเพรสเซอร์บางรุ่นจะออกแบบมาให้ใช้คาพาซิเตอร์รันเพียงตัวเดียว ดังนั้นก่อนที่จะต่อคาพาซิเตอร์เข้าในวงจรจึงควรศึกษาวงจรไฟฟ้าให้ดีเสียก่อนและต้องใช้คาพาซิเตอร์ที่มีค่าไมโครฟารัดที่ถูกต้องเหมาะสม

 

วิวัฒนาการของการทำความเย็นและปรับอากาศ

 วิวัฒนาการของการทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

ในสมัยโบราณมนุษย์รู้จักการเก็บรักษาและถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียเร็วโดยการนำอาหารไปแช่น้ำแข็งหรือหมกหิมะไว้ตามธรรมชาติ  วิธีการนี้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบที่มีอากาศหนาวเย็น  จนกระทั่งเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2343  ได้มีการตัดน้ำแข็งที่เกิดตามธรรมชาติในฤดูหนาวในแม่น้ำลำคลองไปเก็บไว้ในห้องที่มีฉนวนกันความร้อนบุโดยรอบเพื่อเอาไว้ใช้ในฤดูร้อน และมีการขนส่งน้ำแข็งก้อนโตๆ ที่ได้จากธรรมชาตินี้จากแถบที่มีอากาศหนาวไปใช้ในแถบที่อากาศร้อน  เมื่อประมาณ  70  ปีที่ผ่านมานี้ชาวต่างประเทศที่มาอยู่ในประเทศไทยและประเทศในเอเชียยังต้องสั่งน้ำแข็งก้อนมาทางเรือจากประเทศอังกฤษหรือยุโรปเพื่อนำมาแช่เบียร์ดื่ม  เพราะสมัยนั้นประเทศในเอเชียยังไม่รู้จักตู้เย็นหรืเครื่องทำความเย็น

น้ำแข็งได้ผลิตขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกในการทดลองเมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2363  แต่เป็นเพียงการทดลองเท่านั้น  จนกระทั่งปี  พ.ศ. 2377  จาคอบ เพอร์กินส์  (Jacob Perkins)  วิศวกรชาวอเมริกันจึงได้ ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นระบบคอมเพรสเซอร์อัดไอ (compression  system) ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกและต่อมาในปี  พ.ศ. 2398  นักวิทยาศาตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นระบบแอบซอร์ปชัน(absorption system) ขึ้นโดยอาศัยหลักทฤษฎีที่ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michale  Faraday) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ค้นพบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2367
ตู้เย็นที่ใช้ในบ้านถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2453  ทั้งที่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2363  ในปี  พ.ศ. 2456 เจ.เอ็ม.ลาร์เซน (J.M. Lasan) ได้ผลิตเครื่องทำความเย็นควบคุมด้วยมือขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2461 บริษัทเคลวิเนเตอร์ (Kelvinator  Company) ได้ผลิตตู้เย็นซึ่งควบคุมได้โดยอัตโนมัติขึ้นเป็นครั้งแรก  และผลิตออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในปีนั้นสามารถจำหน่ายได้ประมาณ  67 ตู้ แต่ในระยะต่อมายอดการผลิตลดต่ำลงและในปี พ.ศ. 2463 มีการจำหน่ายไปแล้วเพียง 200 ตู้เท่านั้น
ราวต้นปี พ.ศ. 2463  อุตสาหกรรมการผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านเริ่มมีความสำคัญขึ้น  และเป็นที่นิยมแพร่หลายในอเมริกาและยุโรป  ต่อมาปี พ.ศ. 2469  บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก  (General  Electric) ได้เริ่มผลิตตู้เย็นออกมาจำหน่าย  หลังจากที่ทำการค้นคว้าทดลองกันกว่าสิบปี  จึงได้ผลิตตู้เย็นที่ใช้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกขึ้นเป็นตู้แรก  และในปี พ.ศ. 2470  บริษัทอิเล็กโทรลักซ์ (Electrolux) ได้ผลิตตู้เย็นระบบแอบซอร์ปชันควบคุมโดยอัตโนมัติขึ้นจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
ในอุตสาหกรรมการเก็บรักษาและถนอมอาหารสมัยใหม่  ได้ใช้วิธีการแช่ฟรีซอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเครื่องทำความเย็นในระบบฟรีซอย่างรวดเร็ว  จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2466 สำหรับเครื่องปรับอากาศเครื่องแรกผลิตออกสู่ท้องตลาดในปี พ.ศ. 2470  และเครื่องปรับอากาศรถยนต์ถูกผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2483  แต่ในระยะนั้นยังไม่มีการเก็บสถิติที่แน่นอนของจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบนี้  แต่ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ  ประมาณได้ว่ามีรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นเพื่อปรับอากาศอยู่ประมาณ  3,000-4,000 คัน

ระยะของท่อน้ำยาแอร์

การเดินท่อน้ำยาแอร์ ยาวยาวๆ มีผลเสียหรือไม่

เครื่องปรับอากาศทุกชนิด เช่น แอร์ Panasonic , แอร์ Mitsubishi, แอร์ LG, แอร์ Samsung  มีหลักการในการเดินท่อน้ำยาแอร์ที่ ยาวเกินไปส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นตัวอัดแรงดันน้ำยาแอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น ต้องเพิ่มแรงดันมากขึ้น รวมไปถึงการสูญเสียพลังงานแรงต้านทานภายในท่อขณะเดินทางที่มากขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะทำให้การเปิดแอร์แต่ละครั้งกินไฟมากขึ้นกว่าปกติและแอร์ก็ไม่เย็นเท่าที่ควจะเป็น ถ้ามีการติดตั้งท่อน้ำยาแอร์ที่ยาวยาว ในที่สุดคอมเพรสเซอร์ก็เสื่อมสภาพเร็วจากการทำงานหนักนี้ อาจจะตอบไม่ได้ชัดเจนนักสำหรับระบยะเวลาที่จะพัง เพราะแอร์แต่ละรุ่น แต่ละนี่ห้อ ต่างขนาด ต่าง BTU ต้องการระยะท่อน้ำยาแอร์ที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และเทคโนโลยี่ที่นำมาใช้ในการผลิตแอร์แต่ละรุ่น แต่เราสามารถตรวจสอบระยะห่างที่เหมาะสมของท่อน้ำยาแอร์ได้ในแต่ละรุ่นของคู่มือการติดตั้งที่ให้มาตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อแอร์ โดยจะมีการระบุไว้อย่างละเอียด รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศอย่างน่าสนใจ เช่น การเลือกตำหแน่งในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม การเว้นระยะห่างโดยรอบคอมเพรสเซอร์เพื่อช่วยในการระบายอากาศ และทำให้อายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์มากขึ้น

โดยทั่วไปแล้วเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก เช่น  แอร์ Panasonic, แอร์ Mitsubishi, แอร์ LG, หรือ แอร์ Samsung  แบบติดผนังที่นิยมใช้กันภายในบ้านซึ่งมี BTU ระหว่าง 9000-12,000 นั้นจะมีระยะการเดินท่อน้ำยาแอร์แฉลี่ยไมระหว่าง 10-15 เมตรสำหรับการเดินทางในแนวนอนและไม่เกิน 5 เมตรสำหรับการเดินท่อน้ำยาแอร์ในการเดินแนวตั้ง โดยมีการจำกัดว่า อย่างน้อยที่สุดควรมีระยะของท่อน้ำยาแอร์ไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพราะน้ำยาแอร์อาจจะหมุนเวียนได้ไม่ดีหากมีระยะน้อยเกินไป สิ่งสำคัญคือท่อน้ำยาแอร์ที่ต่อให้ยาวขึ้นจำเป็นต้องเติมน้ำยาแอร์เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นหากน้ำยาแอร์ที่มีราคาแพง เช่น น้ำยาแอร์ 410 การติดตั้งก็จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายตามมา