ระบบอินเวอร์เตอร์

เครื่องปรับอากาศและระบบอินเวอร์เตอร์ ประหยัดไฟฟ้าได้อย่างไร 

เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ เช่น แอร์ Mitsubishi, แอร์ Panasonic  ในปัจจุบันได้นำเอาระบบอินเวอร์เตอร์ (inverter)  มาใช้เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและลดค่าไฟฟ้าลง  โดยนำเอาความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ  ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูงที่สุด  ควบคุมการทำความเย็นโดยปรับอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่มากที่สุด  ตลอดจนควบคุมความชื้นสัมพันธ์ของอากาศภายในห้อง  ให้อยู่ในค่าที่ร่างกายกำลังสบาย

ระบบอินเวอร์เตอร์จะมีไมโครคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุณหภูมิภายในและภายนอก  แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะต้องทำความเย็นหรือกำจัดความชื้นให้แก่อากาศภายในห้อง  ส่วนการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องจะทำโดยการเปลี่ยนค่าความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์  จะทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลดลง  ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาในระบบน้อยลง  การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงด้วย

ขณะที่ระบบเริ่มทำความเย็น  เครื่องปรับอากาศจะทำงานเต็มที่ (full power) ด้วยการทำงานที่ความถี่ 90 เฮิรตซ์  ซึ่งจะทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์สูงถึง  5,400  รอบ/นาที  ระบบให้ผลความเย็น 3,150  กิโลแคลอรี/ชั่วโมง  (11,340 บีทียู/ชั่วโมง)  ทำให้อากาศภายในห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว  และเมื่ออุณหภูมิของห้องลดลงใกล้กับระดับอุณหภูมิที่ปรับตั้งไว้  ความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะลดลงเรื่อยๆ  อันเป็นการทำงานอยู่ที่ระดับกำลังต่ำ  ซึ่งจะให้ความถี่ไฟฟ้าแค่  30 เฮิรตซ์  กินไฟเพียง  425  วัตต์ ทำให้เกิดการประหยัดไฟฟ้า และนำยาแอร์ที่ใช้ก็จะเป็นแบบ น้ำยาแอร์ 410 ซึ่งไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การควบคุมอุณหภูมิโดยวิธีนี้  นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว  อุณหภูมิของอากาศภายในห้องก็เกือบจะคงที่ตามที่ปรับตั้งไว้  เพราะมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลง  ซึ่งต่างจากระบบที่ใช้เทอร์โมสตัตเป็นตัวควบคุมหยุดการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์  เมื่ออุณหภูมิของอากาศภายในห้องลดต่ำลงถึงเกณฑ์ปรับตั้งไว้ และมีช่วงอุณหภูมิพักเครื่องซึ่งจะมีค่าอุณหภูมิแตกต่างกันอยู่บ้างระหว่างจุดที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงานและจุดที่เริ่มการทำงาน

หลักการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์   ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเป็น AC 220โวลต์ 50/50  เฮิรตซ์  จะถูกแปลงให้เป็นไฟ DC  280 โวลต์  เพื่อป้อนเข้าเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เป็นตัวผลิตไฟ AC  3 เฟส  มีความถี่อยู่ในช่วง  30-90 เฮิรตซ์  โดยไมโครคอมพิวเตอร์เป็นผู้ส่งสัญญาณที่ป้อนเข้าไมโครคอมพิวเตอร์ตัวภายในห้องจะรับจากการปรับตั้งโปรแกรมรีโมตคอนโทรลผ่านเข้าทางภาครับสัญญาณของไมโครคอมพิวเตอร์ตัวในส่วนหนึ่ง  และสัญญาณอีกส่วนหนึ่งรับจากตัวส่งสัญญาณเทอร์มิสเตอร์ (thermister sensor)  ซึ่งเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของอากาศภายในห้อง  ไมโครคอมพิวเตอร์ตัวในจะสั่งการต่อไปยังไมโครคอมพิวเตอร์ตัวนอก  ให้ควบคุมการผลิตไฟ AC  3 เฟสของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์  ที่ความถี่ต่างๆ กัน  เพื่อใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์อีกทีหนึ่งแอร์ invertor